คดีผู้บริโภค คืออะไร

คดีผู้บริโภค คือ

(1) คดีแพ่งระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายอันเนื่องมาจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ

(2) คดีแพ่งตามกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย

(3) คดีแพ่งที่เกี่ยวพันกันกับคดีตาม (1) หรือ (2)

 

1. ผู้บริโภค หมายถึง ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ และหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม

2. ผู้ประกอบธุรกิจ หมายถึง ผู้ขาย ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายหรือผู้ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสินค้า หรือผู้ให้บริการ

3. ผู้เสียหาย หมายถึง ผู้ได้รับความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ อนามัย จิตใจ หรือทรัพย์สิน แต่ไม่รวมถึงความเสียหายต่อตัวสินค้าที่ไม่ปลอดภัยนั้น

 

ตัวอย่างคดีผู้บริโภค เช่น

  1. คดีซื้อขาย เช่น บ้าน อาคารพาณิชย์ อาคารชุด ที่ดิน สินค้าอุปโภคบริโภค
  2. คดีเช่าทรัพย์ เช่น บ้าน ห้องชุด หอพัก
  3. คดีเช่าซื้อ เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า
  4. คดีจ้างทำของ เช่น ก่อสร้างบ้าน ต่อเติมบ้าน ซ่อมบ้าน
  5. คดีรับขน เช่น บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ ทางน้ำทางบก

6.  คดีสินเชื่อบุคคล กู้ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ

  1. คดีบัตรเครดิต
  2. คดีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ก.ย.ส.)
  3. คดีประกันภัย เช่น ประกันวินาศภัย ประกันชีวิต

10. คดีสินค้าไม่ปลอดภัย เช่น ยา อาหาร เครื่องสำอาง ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์มือถือ

11. คดีบริการสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรคมนาคม

12. คดีบริการสาธารณสุขและความงาม เช่น สถานบริการความงามและสุขภาพ

14. คดีสื่อสารมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต

15. คดีบริการธุรกรรมทางธนาคาร เช่น ฝากเงิน ถอนเงิน

17. คดีบริการด้านการศึกษา เช่น สถาบันสอนภาษา หรือโรงเรียนกวดวิชา

18. คดีบริการด้านการกีฬา เช่น ให้เช่าสนามฟุตบอล สนามเทนนิส สนามกอล์ฟ ฟิตเนส

20. คดีนิติบุคคลอาคารชุดคดีนิติบุคคลบ้านจัดสรร

 

ตัวอย่างคดีที่ไม่ใช่คดีผู้บริโภค เช่น

  1. คดีอาญา
  2. คดีละเมิดทั่วไป ซึ่งไม่ใช่ความเสียหายอันเกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
  3. คดีเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
  4. คดีครอบครัวคดีมรดก
  5. คดีของศาลชำนัญพิเศษ คือ ศาลแรงงาน ศาลภาษี ศาลล้มละลายศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
  6. คดีแพ่งทั่วไปที่พิพาทกันระหว่างประชาชนกับประชาชนด้วยกันเอง ไม่ใช่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นผู้ประกอบธุรกิจ หรือระหว่างผู้ประกอบธุรกิจพิพาทกันเอง เป็นต้น

 

ในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่

ให้ประธานศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัย คำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด แต่ทั้งนี้ไม่กระทบถึงกระบวนพิจารณาใด ๆ ที่ได้กระทำไปก่อนที่จะมีคำวินิจฉัยนั้น

– ถ้าเป็นการขอในคดีผู้บริโภคต้องกระทำอย่างช้าในวันนัดพิจารณา

– ถ้าเป็นการขอในคดีอื่น ต้องกระทำอย่างช้าในวันชี้สองสถาน หรือวันสืบพยานในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน

หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ห้ามมิให้มีการขอให้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวอีก