สัญญาประนีประนอมยอมความ

เมื่อคู่ความตกลงไกล่เกลี่ยกันได้เป็นผลสำเร็จ ก็จะต้องทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ

สัญญาประนีประนอมยอมความ

ข้อ 1. จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์จริงตามฟ้อง

ข้อ 2. จำเลยตกลงจะชำระหนี้ให้กับโจทก์ โดยผ่อนชำระเป็นรายเดือน ๆ ละ 10,000 บาท จนกว่าจะครบถ้วน หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้งวดใดงวดหนึ่ง ยอมให้โจทก์บังคับคดีให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างชำระทั้งหมดได้ทันที

ข้อ 3. ค่าฤชาธรรมเนียมศาลและค่าทนายความให้เป็นพับ

ข้อ 4. โจทก์ตกลงตามข้อ 1 – ข้อ 3

 

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

ม.138 ในคดีที่คู่ความตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีโดยมิได้มีการถอนคำฟ้องนั้น และข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความกันนั้นไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ให้ศาลจดรายงานพิสดารแสดงข้อความแห่งข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความเหล่านั้นไว้ แล้วพิพากษาไปตามนั้น

ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาเช่นว่านี้ เว้นแต่ในเหตุต่อไปนี้

(1) เมื่อมีข้อกล่าวอ้างว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล

(2) เมื่อคำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่าเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

(3) เมื่อคำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่ามิได้เป็นไปตามข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความ

ถ้าคู่ความตกลงกันเพียงแต่ให้เสนอคดีต่ออนุญาโตตุลาการ ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับ